ภาคตะวันตก

จังหวัดกาญจนบุรี

ไฟล์:Railway bridge over the river kwai.JPG

ประวัติ

สะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน และกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดียอีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสะพานข้ามแม่น้ำแควเดิมได้รับความเสียหาย และรัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ดังเดิม ปัจจุบัน มีการยกย่องให้สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

เดิมทีสะพานข้ามแม่น้ำแควไม่เคยมีจริงในประวัติศาสตร์ แต่เนื่องจากทางอเมริกาได้ทำเป็นภาพยนตร์ ดังนั้นทางจังหวัดจึงมีความเห็นให้ตั้งชื่อสะพานที่ท่ามะขามให้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคว[ต้องการอ้างอิง] เพื่อให้เหมือนภาพยนตร์ และได้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวมาตามหาจริงๆ สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น

สะพานเดิมนั้นจะเป็นเหล็กโค้ง ส่วนที่เป็น 4 เหลี่ยมเป็นการซ่อมแซม

สะพานเหล่านี้เดิมทีมีมากมายหลายแห่งในประเทศไทยและลาวพม่าแต่ส่วนใหญ่ทำจากไม้ ในไทยมีที่ทำจากเหล็กไม่ถึง 15 สะพาน

การท่องเที่ยว

บริการเสริม

ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว มีบริการรถราง Fairmong ทุกวัน โดยวันธรรมดา จะมีตั้งแต่เวลา 08.00-10.30 น., 11.20-14.00 น., 15.00-16.00 น., และ 18.00-18.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-09.30 น., 11.20-14.00 น., และ 18.00-18.30 น.

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควจัดในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดงนิทรรศการในทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียง บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว

การเดินทาง

ทางรถยนต์

  • จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
  • จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338) มุ่งหน้าสู่นครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
  • ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี
  • จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไป โดยจะผ่านสะพานไปบ้านแพ้ว ประมาณ 8.5 กิโลเมตร ผ่านสะพานไปตัวเมืองนครปฐม ประมาณ 0.5 กิโลเมตร ผ่านแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 6.4 กิโลเมตร จากนั้นจะถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 24.4 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง

  • จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี
  • จากขนส่งกาญจนบุรีนั่งรถสายกาญจนบุรี – เอราวัณ หรือรถสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ – สังขละบุรี ไปลงตรงแยกซ้ายมือเข้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างเข้าไปประมาณ 700 เมตร

ใส่ความเห็น